757 จำนวนผู้เข้าชม |
พ.ร.บ. กับ ต่อภาษีรถ ต่างกันอย่างไร
หลายคนสงสัยกัยอยู่ใช่ไหมล่ะครับ สรุปว่า พ.ร.บ. กับ ต่อภาษีรถ
อันเดียวกันหรือเปล่าวันนี้ผมมีคำตอบมาเล่าให้ฟังนะครับ
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
พ.ร.บ.รถยนต์ ที่เราเรียกกันบ่อย ๆ นั้น เป็นคำที่่ย่อมาจาก "พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์" ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย
จากรถ พ.ศ. 2535 โดยถือว่า พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่จะให้ความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.รถ หมดอายุ จะต้องทำการ ต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท แถมยัง
ไม่สามารถ ต่อภาษีรถยนต์ ได้อีกด้วย ซึ่งสาเหตุที่ พ.ร.บ. รถ มีความสำคัญต่อรถยนต์ของเรานั่นก็เพราะว่า พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถใช้เป็นหลักประกันในกรณีฉุกเฉินที่รถยนต์ประสบอุบัติเหตุ โดยจะให้เป็นเงินชดเชย ค่ารักษาพยาบาล หรือ ค่า
ปลงศพ แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึง บุคคลภายนอก หรือ คู่กรณี ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น ผู้ประสบภัยทุกคนสามารถเบิกได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกในอุบัติเหตุก็ตาม โดยมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
ภาษีรถยนต์ คืออะไร
สำหรับ ภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันจะต้องชำระเป็นประจำทุกปี เหมือนกับเวลาที่เราต้องเสียภาษีเงินได้ หรือ เสียภาษีอื่น ๆ ซึ่ง ภาษีรถยนต์ นี้จะเป็นการจ่ายเงินเพื่อนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ทางภาครัฐจะนำเงินที่ได้จากภาษีรถยนต์ไปปรับปรุง พัฒนา หรือซ่อมแซมถนนหนทางและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
โดย ภาษีรถยนต์ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันติดปากว่า การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด หากรถยนต์คันใด ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะมีค่าปรับ 1% ต่อเดือน และยิ่งหากขาดต่อภาษีรถยนต์ นานติดต่อกัน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ และต้องเสียค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย
พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างจาก ภาษีรถยนต์ อย่างไร
จากข้อมูลด้านบน เราสามารถสรุปได้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีความแตกต่างกัน โดย พ.รบ.รถยนต์ คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในขณะที่ ภาษีรถยนต์ คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่จ่ายไปก็จะนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
แต่ทั้งนี้ก็มีหลายคนมักเข้าใจผิดว่า ต่อ พ.ร.บ.และ ภาษีรถยนต์ เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า การดำเนินการต่ออายุของทั้งสองสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การ ต่อ พ.ร.บ และ การต่อภาษีรถยนต์ จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป หากรถยนต์คันใด ไม่ได้ ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ ก็จะไม่สามารถต่ออายุได้เช่นกัน เพราะจะต้องใช้ เอกสาร พ.ร.บ.รถ แนบไปกับการ ต่อภาษีรถยนต์ นั่นเอง ซึ่งเมื่อต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมสำหรับมาติดกระจกหน้ารถ ที่เรียกกันว่า ป้ายภาษี หรือที่แต่เดิมนิยมเรียกกันว่า ป้ายวงกลม ไม่ใช่ป้าย พ.ร.บ.รถ อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เพราะความจริงแล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ จะเป็นเอกสารขนาด A4 ที่แสดงรายละเอียดรถยนต์และกรมธรรม์ พ.ร.บ.รถ อย่างชัดเจน
รถ ไม่ได้ ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ จะมีผลอย่างไร
อย่างที่ทราบกันดีว่า ทั้ง พ.ร.บ.รถ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อครบกำหนด พ.ร.บ.รถยนต์ ขาด หรือ ภาษีรถยนต์ หมดอายุ จะต้อง ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ แต่หากรถคันใดที่ ไม่มี พ.ร.บ.รถ จะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท อีกทั้งรถที่ไม่ได้ ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ ก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ.รถ ในการ ต่อภาษีรถยนต์ นั่นเอง และหากใครที่มัวแต่ชะล่าใจ ไม่ไปต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปี จะส่งผลให้รถยนต์ถูกระงับป้ายทะเบียน ต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนใหม่ แถมผู้ประสบภัยจากรถจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากรถเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
ทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ ต่างก็มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก รถยนต์ทุกคันจึงจำเป็นที่จะต้อง ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ เป็นประจำทุกปี โดยสามารถ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ภาษีรถยนต์ ได้ล่วงหน้า ก่อนวันหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน หรือ ประมาณ 90 วัน
ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ หรือ ต่อภาษีรถออนไลน์
โทรคุยปรึกษาเรื่อง พ.ร.บ. คุณวุ้น 085-389-7856
ขอบคุณข้อมูลจาก ทิพยประกันภัย
พ.ร.บ.รถ ประกันรถออนไลน์ ภาษีรถยนต์
ประกันรถออนไลน์ ประกันรถ ประกันออนไลน์ ต้องทำดี คอร์ปอเรชั่น และ ธีร์ โบรคเกอร์