406 จำนวนผู้เข้าชม |
1. รู้จุดอ่อนของตัวเอง
ทุกคนมีจุดอ่อนของตัวเอง ตัวอย่างเช่น แพรมีจุดอ่อนเวลาที่ไปเดินในร้านหนังสือ แม้ว่า หนังสือเล่มเก่าๆ ที่ซื้อมาจะยังไม่ได้อ่าน เมื่อใดก็ตามที่เข้าไปในร้านหนังสือ จะมีความรู้สึกอยากซื้อหนังสือเล่มใหม่อยู่เสมอ หรือการใช้เวลามากเกินไปบน Facebook ก่อนเข้านอน เมื่อใดก็ตามที่จับโทรศัพท์ แพรจะต้องเข้าไปดูใน Facebook Feed และใช้เวลาเป็นชั่วโมงไปกับมัน แทนที่จะใช้เวลานั้นในการนั่งสมาธิ หรืออ่านหนังสือก่อนเข้านอนเป็นต้น
การรู้ว่าเรามีจุดอ่อนตรงไหน จะช่วยทำให้เราไปจัดการกับจุดอ่อนนั้นได้ สิ่งแรกที่ต้องสำรวจคือ จุดอ่อนของเราอยู่ตรงไหนนั่นเองครับ
2. กำจัดสิ่งล่อใจ
เมื่อเรารู้ว่าจุดอ่อนเราอยู่ตรงไหนแล้ว อะไรเป็นสิ่งล่อใจให้เราไขว้เขว ไปกับแผนที่เราวางไว้ ให้เรากำจัดมันออกไป ตัวอย่างเช่น การลบ application Facebook ออกจากมือถือ เพื่อเราจะได้ไม่ต้องคอยเล่น Facebook ตลอดเวลาเมื่อหยิบมือถือขึ้นมา แต่จะใช้ เฉพาะ เวลาที่เราวางแผนไว้ และบน computer เท่านั้น เป็นต้น
3. ตั้งเป้าหมายและกำหนดแผนการลงมือทำอย่างชัดเจน
ในการที่เราจะทำอะไรให้ประสบผลสำเร็จ เราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า เราจะทำอะไร เมื่อเรารู้แน่ชัดแล้วว่าเราจะทำอะไร ต่อไปก็คือ วางแผนในการลงมือทำ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายนั้นๆ ที่ได้วางแผนไว้ หลังจากนั้น โฟกัส ในการลงมือทำตามแผน
4. สร้างวินัยในตนเอง
การสร้างวินัยในตนเอง เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน เป็นเหมือนทักษะอื่นๆ ที่ต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่อง
5. สร้างอุปนิสัยใหม่ๆ โดยทำมันอย่างเรียบง่าย
การที่เราจะสร้างอุปนิสัยใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยเวลา และความสม่ำเสมอในการลงมือทำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เรารู้สึกว่ามันยากเกินไปที่จะทำให้สำเร็จได้ เราจะต้อง ค่อยๆ สร้างอุปนิสัยทีละอย่าง และไม่ยากจนเกินไป เช่น การเขียนบันทึกประจำวันทุกวัน ก็ค่อยๆ ลงมือทำ และกำหนดระยะเวลาในการทำอย่างต่อเนื่อง สร้างสภาพแวดล้อมให้ง่ายต่อการที่เราจะสามารถเขียนบันทึกประจำวันได้ เช่น บนมือถือ และเขียนก่อนเข้านอน เป็นต้น เมื่อเราสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องแล้ว เราก็ค่อยๆ เพิ่มอุปนิสัยที่เราอยากพัฒนาใหม่ๆ นั่นเอง
6. กินอาหารบ่อยๆ และเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
เมื่อเรารู้สึกหิว จะมีผลกับอารมณ์ของเรา เราอาจจะรู้สึกโกรธ ไม่สบายตัว และส่งผลกระทบต่อความต้องการในการสร้างวินัยของตัวเอง มีงานวิจัยได้ศึกษาพบว่า การที่เรามีน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีผลทำให้เราแก้ปัญหาต่างๆ ได้แย่ลง หงุดหงิด และมองโลกในแง่ร้าย
เมื่อเราหิว ความสามารถในการโฟกัสต่อสิ่งต่างๆ จะลงน้อยลง ความสามารถในการควบคุมตัวเองก็ลดน้อยลงเช่นกัน ดังนั้น จงพยายามรับประทานอาหารมื้อที่เป็นประโยชน์ โดยแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ เล็กๆ หลายๆ มื้อต่อวัน เพื่อไม่ให้เรารู้สึกหิว
7. เปลี่ยนมุมมองที่มีเกี่ยวกับ พลังความต้องการ
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Stanford พบว่า พลังความต้องการของแต่ละบุคคล แปรผลตามความเชื่อของบุคคลนั้นๆ หากเรามีความเชื่ออย่างแรงกล้า ว่าเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ได้ แม้ว่ามันจะเป็นเป้าหมายที่ใหญ่มากๆ ก็ตาม เราจะมีพลังในการลงมือทำสิ่งนั้นๆ ให้เกิดผลสำเร็จ เราจะสามารถโฟกัส และมีวินัยในการลงมือทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งๆ นั้น
8. จินตนาการถึงวิธีปฏิบัติ ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง
นักจิตวิทยาใช้วิธีการจินตนาการ ในการลงมือทำ ก่อนที่จะลงมือทำจริง ว่าเราจะสามารถทำสิ่งนั้นๆ ที่เราวางแผนไว้ได้อย่างง่ายดาย ก่อนที่จะถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำจริงๆ ตัวอย่างเช่น เราวางแผนว่าเราจะออกไปวิ่งทุกวันในตอนเช้า ก่อนออกไปวิ่งก็ให้เราจินตนาการว่า เราจะมีความสุขกับการวิ่ง สูดอากาศบริสุทธ์ในตอนเช้า วิธีการนี้ จะช่วยเพิ่ม พลังความต้องการ ที่จะออกไปวิ่งในตอนเช้าของเราได้
9. ให้รางวัลกับตัวเอง
เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถทำสำเร็จ แม้จะเป็นขั้นตอนเล็กๆ เพื่อที่จะไปยังเป้าหมายใหญ่ที่วางไว้ก็ตาม ให้เราให้รางวัลกับตัวเอง ตัวอย่างเช่น เมื่อเราสามารถเขียนบันทึกประจำวันติดต่อกันได้ 7 วัน เราอาจจะให้รางวัลตัวเอง โดยการกิน chocolate ที่เราชอบได้ 1 แท่งเป็นต้น
การให้รางวัลกับตัวเองแบบนี้ จะช่วยให้เรามีกำลังใจที่จะทำต่อเนื่อง เราอาจจะสัญญากับตัวเองว่า เมื่อเราเขียนครบถึง 30 วัน เราจะพาตัวเองไปกินไอศครีมที่เราชอบ เป็นต้น นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราอยากที่จะทำเป้าหมายนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น อีกด้วย
10. ให้อภัยตัวเอง และเดินหน้าต่อไป
แม้ว่าเราจะวางแผนในการลงมือทำไว้อย่างดีแล้ว และตั้งใจที่จะทำมันให้สำเร็จก็ตาม ในบางครั้ง เราก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาดหรือเหตุที่ทำให้เรา ไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้ ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ให้เราให้อภัยกับตัวเอง ทำความเข้าใจต่อข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และลงมือทำใหม่ เดินหน้าต่อไป