420 จำนวนผู้เข้าชม |
5 วิธีเปลี่ยนแนวคิดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของการเป็นมนุษย์ เมื่อคุณใช้ชีวิตมาเรื่อย ๆ เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดการตั้งคำถาม การใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ โดยไม่ตั้งคำถามนั่นเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่าด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามของเหล่านี้ไม่มีผิดถูก เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่ไม่มีใครมาตัดสินหรือรู้ดีมากที่สุดเท่าตัวคุณเอง
สุดท้ายแล้ว “การลาออก” อาจเป็นได้ทั้งหนทางดับทุกข์และสร้างทุกข์ได้ไม่ต่างกัน ค่อย ๆ คิดและไตร่ตรองอย่างช้า ๆ ของแบบนี้เปลี่ยนแค่วิธีคิดบางอย่าง ก็พาคุณออกจากจากวังวนความคิดเหล่านี้ได้ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม ลองปรับวิธีคิดไปพร้อม ๆ กัน
1.อย่ากลัวที่จะล้มเหลว
ขึ้นชื่อว่า “ความล้มเหลว” หากเลือกได้คงไม่มีมนุษย์คนไหนอยากลิ้มรสกับความเจ็บปวดในเรื่องแบบนี้ แต่อย่างที่เห็นกันดี ขึ้นชื่อว่าชีวิตหลาย ๆ อย่างเราก็ไม่สามารถควบคุมให้เป็นดั่งใจเราได้ทุกอย่าง ต่อให้เราตั้งใจกับมันมากแค่ไหน คิดว่าทำดีแล้ว แต่สุดท้ายปลายทางคุณก็อาจพบเจอกับความล้มเหลวเข้าจนได้
ทุก ๆ ครั้งที่คุณถูกความล้มเหลวเข้าปะทะ อยากให้คุณเรียนรู้จากมันให้มากที่สุด อย่าใช้ความรู้สึกอย่างเดียว ใช้ความเข้าใจไปพร้อมกันด้วย เสียใจได้ ผิดหวังได้ แต่ต้องเรียนรู้ อย่าจมอยู่กับมันนาน มูปออนแล้วก้าวต่อไป เพราะไม่มีมีใครในโลกไม่เจอกับเหตุการณ์นี้
ยกตัวอย่างบรรณาธิการชื่อดังอย่าง แอนนา วินทัวร์ เคยถูกไล่ออกจากงาน ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณไม่ได้เกิดมาเพื่อทำงานสายแฟชั่น ในทางกลับกัน เธอมองว่านั่นคือความโชคดีที่ได้นำเธอออกมา และเปลี่ยนไปทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกัน หากคุณล้มเหลวกับอะไรบางอย่าง ลองมองว่านี่อาจเป็นโอกาสที่ดีให้ตัวคุณเองเริ่มต้นใหม่กับอะไรอีกอย่าง
2. อย่าหยุดเรียนรู้
“ทุกวันคือการเรียนรู้” เป็นประโยคไม่เกินจริงแต่อย่างใด ต่อให้ชีวิตของคุณจะถูกพัดพาหรือเติบโตไปในทิศทางไหน จะชอบหรือไม่ชอบมัน แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้คุณ Keep ไว้คือ พยายามเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ให้โอกาสตัวเองได้ทำ ได้ลองอะไรใหม่ ๆ ให้มากที่สุด ถึงสุดท้ายแล้วคุณอาจจะไม่ชอบมัน นั่นก็ไม่เป็นไร ผลลัพธ์อาจไม่สำคัญเท่าระหว่างทาง การให้ “หัวใจ” คุณ ได้สูบฉีดกับสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น อย่างน้อยชีวิตก็ไม่เหี่ยวเฉาจนเกินไป
Tips : งานวิจัยบอกเล่าเอาไว้ว่า 85% ของคนที่ประสบความสำเร็จ มักอ่านหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองหรือเกี่ยวกับงานวิชาการ อย่างน้อย 1-2 เล่ม/เดือน ส่วนคนที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะอ่านหนังสือแนวความบันเทิง
3.มองการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาส
รสชาติของความเปลี่ยนแปลง คงเป็นความขมของชีวิตใครหลายคน จนบางครั้งกลายเป็นสิ่งที่รั้งคุณไว้ไม่ให้ไปไหน ความเปลี่ยนแปลงและความล้มเหลว สองคำนี้ขอจัดให้อยู่ในหมวดเดียวกัน คือเป็นสิ่งที่ชีวิตคุณไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และปลายทางอาจจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าปัจจุบันที่คุณเผชิญอยู่ จะมองว่าเป็น “จุดเริ่มต้น” ของอะไรบางที่ (อาจจะ) ดีอย่างก็ได้เช่นกัน
มุมหนึ่งของการทำงาน การที่คุณทำงานที่เดิมมานาน จนกลายเป็น Comfort Zone ที่สบายใจ จนไม่กล้าที่จะย้ายไปไหน ไม่กล้าที่จะลุกขึ้นมาเจอกับความเปลี่ยนแปลง โอกาสดี ๆ มากมายที่ลอยผ่านไปโดยที่คุณไม่เอื้อมมือคว้า ทั้งหมดนั้นก็เพราะความกลัวของคุณเป็นสาเหตุ เปิดใจให้กว้าง แค่กล้า แล้วก้าวไป ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของคุณแน่นอน
4.เปิดรับคำวิจารณ์อย่างสม่ำเสมอ
มาที่อีกหนึ่งแนวคิดสำคัญที่น่าสนใจ คือการรับฟังคอมเมนท์ รับฟังคำวิจารณ์จากคนรอบตัว เข้าใจดีว่าธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีใครยิ้มหวานรับฟังคำตำหนิได้อย่างสนิทใจ แต่นี่เป็นสิ่งที่คุณต้องเปิดใจให้กว้าง แต่ไม่ใช่ไปรับคำวิจารณ์ที่ไม่มีคุณภาพเอามาใส่ใจ
ดูคนพูดหรือเจตนาของผู้พูดให้ออก ว่าเขาพูดไปเพื่ออะไร หากถ้อยคำเหล่านั้น เต็มไปด้วยความหวังดีที่อยากให้คุณพัฒนา จงน้อมรับและขอบคุณเขาเหล่านั้นด้วยใจจริง เพราะคงไม่มีใครอยากพูดในสิ่งที่เสี่ยงให้คนอื่นไม่ชอบตัวเอง (แปลว่าคุณสำคัญกับเขานั่นเอง)
5.หมั่นท้าทายข้อจำกัดของตัวเองอยู่เสมอ
การที่คุณพยายาม Push หรือผลักดันตัวเองให้ทำอะไรเกินข้อจำกัดนั้น จริงอยู่ว่าระหว่างทางมันอาจทุลักทุเล ลำบากอย่างไร้ขอบเขต แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่คุณตกตะกอนได้จริง ๆ คือเราทำเรื่องนี้ได้ I Can Do It บางเรื่องคุณไปได้มากกว่าสิ่งที่คุณคาดหวังด้วยซ้ำ
การใช้ชีวิตเรื่อย ๆ สโลว์ไลฟ์ เป็นสิ่งที่สบายใจ เป็นคอมฟอร์ตก็จริง แล้วนั่นก็ไม่ใช่สิ่งผิดด้วย แต่บางจังหวะชีวิตอันแสนเรียบง่ายนั้น การปล่อยให้ตัวเองออกนอกกรอบ เจอสีสันอะไรใหม่ ๆ ท้าทายใจดูบ้าง คุณอาจจะได้พบตัวคุณเองในอีกหนึ่งเวอร์ชั่นที่น่าเซอร์ไพร์สเหมือนกัน