724 จำนวนผู้เข้าชม |
รถยนต์ 1 คันต้องมี 3 อย่าง
1. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
พ.ร.บ. คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองรถ
เมื่อเกิดเหตุหากมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิต ต้องเบิกจาก พ.ร.บ. ก่อนทุกครั้ง
หากวงเงินไม่พอจึงจะไปเบิกจากภาคสมัครใจ
หากไม่มี พ.ร.บ. ต่อภาษีประจำปีไม่ได้
รถไม่มี พ.ร.บ. โทษปรับ 20,000 บาท
ปรับคนขับ 10,000 บาท
ปรับเจ้าของรถ 10,000 บาท
ในกรณีขาดการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ต้องเสียค่าปรับในการต่อ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง แต่จะส่งผลให้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจแล้วเจ้าของรถไม่มีหลักฐานแสดงหรือขาดต่อ พ.ร.บ. ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายนั่นเอง และหลังจากที่เสียค่าปรับแล้วนั้นหากรถคันไหนไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้อีกด้วย และเมื่อไม่ได้เสียภาษีรถยนต์หรือปล่อยไว้นานจนทะเบียนรถขาด เจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนอีกด้วย
2. ต่อภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยม)
เป็นการเสียภาษีประจำปีตามกฎหมาย
รถยนต์เกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
โทษปรับไม่ต่อภาษี 400 - 1,000 บาท
ไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี ถูกระงับทะเบียน และจะต้องนำรถไปตรวจใหม่ที่ขนส่งเท่านั้น
ขั้นตอนการต่อภาษี
1. ตรวจสภาพรถยนต์
หากรถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง
2. ต่อ พ.ร.บ. หรือ ทะเบียน รถยนต์
ก่อนต่อภาษีรถยนต์ ต้องอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะจะได้นำเอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง
3. ขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส (ในกรณีที่รถมีการติดแก๊ส )
ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG ต้องขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก
4. เตรียมเอกสารการต่อภาษีรถยนต์ ก่อนยื่นให้สถานที่รับต่อภาษี
เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
พ.ร.บ. รถยนต์
ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)
5. ชำระภาษีรถยนต์ตามสถานที่ดังนี้
สำนักงานขนส่งทางบก
ที่ทำการไปรษณีย์
เคาน์เตอร์เซอร์วิส
ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th
3. ประกันภาคสมัครใจ (ความคุ้มครองตามประเภทการรับประกัน)
มีความคุ้มครองให้เลือกหลากหลายตามประเภทการใช้งาน
คุ้มครองค่าซ่อมรถและทรัพย์สินของคู่กรณี
คุ้มครองรถตัวเองตามประเภทที่ซื้อ
คุ้มครองค่ารักษาส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ.
คุ้มครองกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และประกันตัวผู้ขับขี่
ดังนั้นการมีทั้ง 3 อย่างนี้ให้กับรถของคุณที่ใช้ขับขี่อยู่ทุกวันๆ จะทำให้การเดินทางของคุณทุกครั้งมีความอุ่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะถูกต้องตามกฎหมายแล้วยังช่วยคุ้มครองทั้งตัวคุณและรถที่คุณรักอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล : วิริยะประกันภัย
ถ้าพี่น้อง ที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ ที่สามารถคุ้มครองรถติดแก๊สได้ครอบคลุมและรวดเร็ว เราขอแนะนำประกันรถยนต์กับเรา
ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทรเข้า Call Center คุณวุ้น : 085-389-7856
ประกันรถออนไลน์ ประกันรถ ประกันออนไลน์ ต้องทำดี คอร์ปอเรชั่น และ ธีร์ โบรคเกอร์