พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไรนะ ทำไมต้องบังคับทำด้วยนะ ไม่เข้าใจ

1332 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไรนะ ทำไมต้องบังคับทำด้วยนะ ไม่เข้าใจ

 พ.ร.บ รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)

ผมเชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันอยู่แล้วนานแล้วใช่ไหมล่ะครับ ลองอ่านกันดู
พ.ร.บ. เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นภาคบังคับ

ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.

การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ (ลองอ่านฉบับเต็ม)

– เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต

– เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ

– เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ

– ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
 
ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน 2536 โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ต้องทำประกันภัยภาคบังคับตาม พรบ รถยนต์ นี้ วันนี้เราจะพาไปดูรายละเอียดกันว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไรนะ  ไปดูกัน
 
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
     การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกคนที่ประสบเหตุจากรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า ฯลฯ รวมไปถึงหากเกิดความเสียหายถึงชีวิต ทรัพย์สิน ก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน 

ซึ่งรถยนต์ที่ต้องทำประกันภัย ตาม พรบ รถยนต์ ได้แก่รถทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบก ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ฯลฯ ที่เป็นรถประเภทมีไว้ใช้ ไม่ว่าจะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นก็ตาม ถือเป็นรถที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับทั้งสิ้น
 
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของประกันภาคบังคับจ่ายยังไง...
     ปัจจุบัน มีบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่ง พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เข้ามาทำหน้าที่ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยแทนบริษัทประกันภัย โดยผู้ประสบภัยจะได้รับความ
 
คุ้มครองนับตั้งแต่ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้แต่คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ที่มาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะได้รับการชดเชยค่าเสียหายที่แท้จริง  ในวงเงินคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นต่อคน เป็นเงินจำนวนไม่
 
เกิน 500,000 บาท โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน หากเกิดการเสียชีวิตหรือพิการและสูญเสียอวัยวะ จะได้รับการคุ้มครองในวงเงิน 500,000 บาท ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ไม่รวมกับค่าเสียหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน
 
ความคุ้มครองเบื้องต้นของ พ.ร.บ รถยนต์เป็นอย่างไร
     สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ รถยนต์ หากประสบภัยที่เกิดจากรถยนต์ จะมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (จ่ายทันทีโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดใน 7 วัน) โดยหมาย
 
ถึง ค่ารักษาพยาบาลและค่าความเสียหายต่อชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ ในวงเงินคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นต่อคน แบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ไม่เกิน 30,000 บาท กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสีย
 
ชีวิตจะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท ต่อคน อีกทั้งหากผู้ประสบภัย บาดเจ็บและ เสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาลแล้ว จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน



ซึ่งในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ขับขี่นั้น จะยึดตามอัตรามาตรฐานกลางค่ารักษาพยาบาล โดยผู้ขับขี่รถที่เป็นฝ่ายกระทำผิดนั้น ได้ถูกกำหนดสิทธิโดยกฎหมายให้ได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้น เพราะกฎหมายฉบับนี้ให้การคุ้มครองต่อบุคคลที่ถูกกระทำเป็นหลักเท่านั้นครับ 
 
จะซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ไหน?
     หากต้องการเลือกซื้อพรบดีๆสักที่ เราควรเลือกซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ไหนถึงจะดีที่สุด เบื้องต้นเราสามารถซื้อพรบรถยนต์ได้กับทั้งตัวแทนจำหน่าย หรือ บริษัทประกันภัยนรถยนต์ใกล้บ้านท่านได้เลย หรือพี่ๆ เพื่อน ไม่สะดวกก็สามารถซื้อพรบ รถยนต์ออนไลน์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ก่อนตัดสินใจซื้อควรศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อนนะครับผม
 
ชอบโทรคุย 085-389-7856
ชอบแชทคุย LINE 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้