เบิกประกันภัย พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไรบ้าง?

148 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เบิกประกันภัย พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไรบ้าง?

เบิกประกันภัย พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร?


        พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นกฎหมายบังคับใช้ในประเทศไทยที่กำหนดให้รถทุกคันต้องมีประกันภัยขั้นพื้นฐานเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้าที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต พ.ร.บ. นี้จะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของผู้ขับขี่ก่อน


เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร?

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ภายหลังจากได้ถูกนำส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อทำการแจ้งเคลมและบอกเหตุการณ์
  2. ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. ผ่านทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  3. ทางผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยชอบธรรมจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อนำใบแจ้งความมาเป็นเอกสารในการเบิก พ.ร.บ.
  4. นำเอกสารต่างๆ ไปยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  5. จากนั้นทาง พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม ภายใน 7 วันทำการ
  6. การดำเนินเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ. สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ

 


เตรียมเอกสารที่จำเป็นในการใช้เบิกประกัน พ.ร.บ.

  1. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  4. สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
  5. ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  6. สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.

 
เอกสารเพิ่มเติม กรณีบาดเจ็บ

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

 
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล เป็นผู้ป่วยใน

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

 
เอกสารเพิ่มเติม กรณีทุพพลภาพ

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
  2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

 
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

 

 


ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์
     เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ดังนี้


ค่าเสียหายเบื้องต้น
– ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท
– กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) เบิกได้คนละ  35,000 บาท
ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทน
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์ว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ดังนี้
– ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท
– กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสินเชิง คนละ 500,000 บาท
– กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 500,000 บาท
– กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย คนละ 250,000 บาท
– กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 200,000 บาท
– ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย คนละ 300,000 บาท
– กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)


     ***ความคุ้มครองของประกัน พ.ร.บ. สามารถบรรเทาความทุกข์ร้อนในยามเมื่อเกิดเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินชดเชยต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าให้ พ.ร.บ. ขาดเด็ดขาด

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

โทรหาศูนย์บริการลูกค้า ธีร์ ทำดีแคร์ 096-192-9698

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้