78 จำนวนผู้เข้าชม |
การเมาแล้วขับ ถือเป็นพฤติกรรมที่อันตรายและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เองและผู้อื่นบนท้องถนน จึงต้องมีกฎหมายเมาแล้วขับออกมาเพื่อเป็นการควบคุมนักดื่มทั้งหลาย ซึ่งโทษมีตั้งแต่การจ่ายค่าปรับ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และจำคุก
เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ในประเทศไทย คงหนีไม่พ้นสาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากเรื่องของการดื่มแอลกอออล์แล้วขับ
บทลงโทษเมาแล้วขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ
1. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น บาดเจ็บ
จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
2. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น บาดเจ็บสาหัส
จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
3. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย
จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
ข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก
ประกันคุ้มครองไหม??
สำหรับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หากเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุหากพบว่าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ บริษัทประกันจะไม่จ่ายสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย แต่จะทำการจ่ายให้กับคู่กรณีแทน แล้วภายหลังจากนั้นบริษัทประกันภัยจะไปไล่เบี้ยเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนกับผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับอีกด้วย
รถที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ที่มีประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับ และภาคสมัครใจ ผมขออธิบายถึงเรื่องความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังนี้
การประกันภัยรถยนต์ จะแบ่งประเภทของการประกันภัย ออกเป็น 2 ภาค
1. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ส่วนประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ถึงแม้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ก็จะยังให้ความคุ้มครองทั้งตัวผู้เมาแล้วขับ และคู่กรณี โดยจะให้ความคุ้มครองในส่วนของค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเอง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทรหาคูนย์บริการลูกค้า ธีร์ ทำดีแคร์ 096-192-9698