12 คำศัพท์สำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อ"ประกันรถยนต์"

364 จำนวนผู้เข้าชม  | 

12 คำศัพท์สำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อ"ประกันรถยนต์"

สำหรับผู้ที่สนใจซื้อประกันรถยนต์ อาจพบคำศัพท์เฉพาะที่ไม่คุ้นเคย แต่คำเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณเลือกประกันได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับประกันรถยนต์ พร้อมข้อมูลที่กระชับและเข้าใจง่าย

 

แล้ว 12 คำที่เราต้องรู้มีอะไรบ้าง? มาดูกัน!

 


1. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

      ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เป็นประกันที่กฎหมายกำหนดว่ารถทุกคันต้องมีและต่ออายุทุกปี เพื่อชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ความคุ้มครองครอบคลุมเฉพาะค่ารักษาพยาบาลและเสียชีวิตของผู้ขับขี่และบุคคลอื่น ไม่รวมความเสียหายต่อรถยนต์ (ความคุ้มครองจำกัดสูงสุดเพียง 500,000 บาท) หากไม่ต่อ พ.ร.บ. จะถูกปรับสูงสุด 10,000 บาท

 

2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

      ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นประกันเพิ่มเติมที่เจ้าของรถเลือกซื้อเองเพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้น มีหลายประเภท เช่น ชั้น 1 ชั้น 2+ หรือชั้น 3 โดยสามารถปรับแต่งความคุ้มครองตามความต้องการ เช่น เพิ่มความคุ้มครองน้ำท่วม หรือปรับวงเงินคุ้มครอง

 

อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย เรื่องควรรู้ พ.ร.บ. ประกันรถยนต์ และข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครอง

 

3. ภาษีรถยนต์

 

 

      ภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปีตามกฏหมาย โดยกรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้มีการระบุเอาไว้ ซึ่งจำนวนภาษีที่จะต้องจ่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ (ลูกบาศก์เมตร, ซีซี) ของรถแต่ละคัน นอกจากนั้นการจะชำระภาษีรถยนต์ได้ จะต้องมีการต่ออายุประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไปพร้อมกัน เพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเมื่อคุณชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว รถทุกคันจะได้รับสติกเกอร์สำหรับเอาไว้ติดที่หน้ากระจกรถยนต์ ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะมีการตรวจสอบทุกครั้งหลังจากการเกิดเหตุใดๆ ก็ตาม

 

ข้อควรระวัง: ควรต่อภาษีรถยนต์ให้ทันทุกปีตามกำหนด หากล่าช้า จะถูกปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน และหากขาดการต่อภาษีติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับ ต้องดำเนินการขอทะเบียนใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยาก และอาจถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย

 

อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย ทำไมต้องต่อภาษีรถยนต์?

 

4. การตรวจสภาพรถยนต์

      การตรวจสภาพรถยนต์ที่อายุการใช้งานเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนต่อทะเบียน การตรวจสอบรวมถึงการเช็กระบบไฟ เบรก และควันดำ เพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

      การตรวจสภาพรถยนต์เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับเจ้าของรถที่ต้องการต่อภาษีประจำปี โดยรถที่ใช้งานมานานจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้อง ตรอ. จะทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถของคุณว่าปลอดภัยและพร้อมใช้งานบนท้องถนนหรือไม่ เช่น ตรวจสัญญาณไฟรอบคัน ระบบเบรก สภาพล้อ และการปล่อยมลพิษ เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่ารถอยู่ในสภาพดีและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

 

รถที่ต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษีประจำปี ได้แก่:

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

 

 

อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนทำประกัน?

 

 

5. ค่าความเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess)

      ค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ขับขี่ต้องจ่ายในกรณีแจ้งเคลมจากอุบัติเหตุ โดยมีเป้าหมายป้องกันการแจ้งเคลมเท็จเพื่อซ่อมฟรี

      การเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) มีเป้าหมายเพื่อป้องกันการแจ้งเคลมเท็จจากผู้ขับขี่ที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง โดยหวังใช้สิทธิซ่อมรถโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

6. ค่าความเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible)

      ค่าความเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) คือ ค่าใช้จ่ายที่คุณซึ่งเป็นคนซื้อประกันยินยอมชำระโดยสมัครใจ ทุกครั้งที่เกิดการเคลมในอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด ยิ่งคุณยินยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกมาก ค่าเบี้ยประกันก็จะถูกลง

 

7. ส่วนลดเบี้ยประกัน

      ส่วนลดที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น ส่วนลดประวัติดี ส่วนลดติดกล้องหน้ารถ หรือส่วนลดจากโปรโมชันบริษัทประกัน ทั้งนี้คุณสามารถปรับความคุ้มครองเพื่อให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์และลดค่าเบี้ยประกันได้

 

อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย ส่วนลดประกันรถยนต์มีกี่แบบ?

 

8. หมายเลขประจำรถยนต์

      เลขประจำตัวรถยนต์ หรือที่เรียกกันว่า VIN (Vehicle Identification Number) คือหมายเลขที่ใช้สำหรับการจดทะเบียนรถยนต์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยรถยนต์ทุกคันจะมีหมายเลขนี้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ประกอบด้วยอักขระและตัวเลขรวม 17 ตัว ซึ่งให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต และรายละเอียดเฉพาะอื่น ๆ เช่น ระบบเครื่องยนต์ หมายเลข VIN จึงถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้ในการซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ตำแหน่งที่สามารถตรวจสอบเลข VIN ได้ มักพบได้บริเวณผนังห้องเครื่องด้านใน ป้ายบริเวณด้านบนของคอนโซลหน้า หรือบนสติกเกอร์รับรองคุณภาพของรถที่ติดอยู่บริเวณเสากลางฝั่งคนขับ

 

 

9. ซ่อมห้าง และซ่อมอู่

      คำศัพท์ในประกันรถยนต์ที่คุ้นหูอย่าง ‘ซ่อมห้าง’ หรือเรียกว่า ‘ซ่อมศูนย์’ หมายถึงการนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการของยี่ห้อรถยนต์นั้นโดยตรง ซึ่งจะได้รับบริการจากทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากศูนย์ และมั่นใจได้ว่าจะใช้อะไหล่แท้ของยี่ห้อรถนั้นโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการซ่อมห้างคือ อาจต้องรอคิวนาน ใช้เวลาซ่อมที่มากกว่า และมีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่า นอกจากนี้ บางพื้นที่อาจไม่มีศูนย์บริการรองรับอย่างเพียงพอ

      ซ่อมอู่ หมายถึงการนำรถยนต์เข้ารับการซ่อมแซมที่อู่ซ่อมทั่วไป ซึ่งแต่ละแห่งอาจมีมาตรฐานการบริการและคุณภาพงานที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกอู่ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อดีของการซ่อมอู่คือระยะเวลาการซ่อมที่มักจะสั้นกว่า เนื่องจากมีอู่ให้เลือกใช้บริการมากกว่าศูนย์บริการ และยังช่วยลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อเสียเรื่องคุณภาพการบริการหรืออะไหล่ที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ปัญหานี้สามารถหลีกเลี่ยงได้หากเลือกซ่อมกับอู่ในเครือที่ผ่านการรับรองจากบริษัทประกัน โดยเฉพาะในกรณีของประกันรถยนต์ซันเดย์ ที่ได้คัดสรรอู่มาตรฐานสูง อุปกรณ์ครบครัน และทีมงานมืออาชีพเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ

 

อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย เลือกซื้อประกันรถ ซ่อมอะไรดี ซ่อมห้าง/ศูนย์ หรือ  ซ่อมอู่

 

 

10. เคลมสด (Fresh claim)

      เคลมสด คือการแจ้งเคลมที่เกิดขึ้นทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน โดยยังมีคู่กรณีอยู่ด้วย (เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถยนต์กับรถยนต์) ซึ่งจะเป็นการโทรติดต่อให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปยังจุดเกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบและออกเอกสารสำหรับทำเรื่องเคลมทันที แต่หากอุบัติเหตุนั้นเกิดมีผู้บาดเจ็บขึ้นมา ก็อาจจะต้องมีการเดินทางไปแจ้งความที่โรงพัก โดยใช้หลักฐานเป็นใบขับขี่ และหน้ากรมธรรม์ประกันภัยที่เราทำไว้

 

11.เคลมแห้ง (Dry claim)

      เคลมแห้ง คือการเคลมที่เกิดขึ้นหลังจากอุบัติเหตุนั้นผ่านไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นจากคู่กรณีไม่ใช่รถยนต์ เช่น อุบัติเหตุจากการขับไปชนกับวัตถุอย่างเสาไฟ กำแพง ป้าย ขอบถนน ราวสะพาน ฯลฯ จนทำให้ตัวรถเกิดรอยขูดขีด หรือรอยบุบเสียหาย โดยที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขับขี่โดยตรง รวมถึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

 

12.เคลมด้วยตนเอง (Self claim)

      เป็นวิธีเคลมที่ง่ายและสะดวก เพียงถ่ายรูปความเสียหายและอัปโหลดผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทประกัน พร้อมติดตามสถานะงานซ่อมได้ตลอดเวลา

 

อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย วิธีเคลมประกันรถยนต์ ที่คนมีรถยนต์ต้องรู้!!

 

คำศัพท์เกี่ยวกับประกันรถยนต์ที่ควรรู้ไม่ได้มีจำนวนมากอย่างที่หลายคนคิด และส่วนใหญ่ล้วนเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกประกันที่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย หากเราเข้าใจคำเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง ก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการรักษาสิทธิ์ตามกฎหมาย พร้อมทั้งเลือกประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเราเองได้อย่างแท้จริง

 

สรุป
การทำความเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับประกันรถยนต์ช่วยให้คุณเลือกประกันที่ตรงกับความต้องการ ประหยัดค่าใช้จ่าย และรักษาสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอย่างเต็มที่

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

โทรหาศูนย์บริการลูกค้า ธีร์ ทำดีแคร์ 096-192-9698

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้